ชุดไทยแต่งงานผู้ชาย

ชุดไทยแต่งงานผู้ชาย

ชุดไทยแต่งงานผู้ชาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับคุณผู้ชายในยุคปัจจุบันคือ การเลือกชุดในงานสำคัญ ด้วยความที่ชุดในงานสำคัญ หรือชุดงานแต่งงาน เป็นชุดที่ค่อนข้างเป็นทางการเลยทีเดียว เจ้าบ่าวหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ควรเลือกชุดอย่างไรให้ดูดี รวมถึงให้เหมาะสำหรับงานแต่ง เพราะหนึ่งในสิ่งที่จะสร้างความประหม่าให้กับฝ่ายชาเป็นอย่างมาก คือ การเตรียมตัวเป็นเจ้าบ่ายนั่นเอง เพราะฉะนั้นวันนี้จะมาบอกเทคนิคการเลือกชุดไทยสำหรับเจ้าบ่าวอย่างไรให้ดูดี และเหมาะสมกับงานแต่งงาน

ชุดไทยแต่งงานผู้ชาย

วิธีการเลือกชุดไทยแต่งงานผู้ชาย

  • ชุดราชประแตน : สำหรับชุดไทยราชประแตน จะมีลักษณะเสื้อเป็นแบบเสื้อสูทสีขาว คัตตั้งสูง มีกระดุม 5 เม็ด สามารถสวมใส่ได้ง่าย เพราะจะมีการสวมใส่เพียงแค่ชั้นเดียว ในส่วนของการเกมจะเป็นโจงกระเบน สวมถุงเท้ายาวถึงเข่า ใส่พร้อมกับรองเท้าหนังหุ้มส้น ซึ่งชุดนี้เปรียบเสมือนเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือน และเครื่องแต่งกายประจำชาติของเหล่าผู้ชายไทย ดังนั้นชุดไทยผู้ชายแบบราชประแตนดั้งเดิม จะยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีเสมอมา ยิ่งถ้าหากจับคู่กับชุดสไบของเจ้าสาว และเลือกสีชุดให้เป็นไปในโทนเดียวกัน รับรองว่าจะเพิ่มความสวยงามได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
  • ชุดไทยราชประแตนประยุกต์ : สำหรับชุดไทยราชประแตนประยุกต์ จะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของชุดไทยสากลที่ดีเลยทีเดียว โดยจะมีการเปลี่ยนจากเสื้อราชประแตน เป็นเสื้อแจ็กเกตสูท ผูกโบว์ไทด์ หรือเนคไทด์ได้ตามแบบสากลที่ต้องการ โดยลักษณะด้านล่างจะยังใช้เป็นโจงกระเบนเช่นเดียว ในส่วนของเสื้อด้านบน จะต้องเลือกใส่สีให้เข้ากับโจงกระเบน หรืออาจจะมีการเพิ่มลูกเล่นด้วยการใส่เสื้อกั๊กเพิ่มอีกหนึ่งตัว ให้กลายเป็นสูทสามชิ้นก็ได้เช่นกัน

เทคนิคการเลือกชุดแต่งงานให้เข้ากัน

  1. เลือกตามคอนเซปต์ หรือธีมงาน : ก่อนอื่นจะต้องดูก่อนเลยว่า คอนเซปต์ของธีมงานเป็นแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นแบบไทยมาก ไทยน้อย หรือคอนเซปต์ไทยประยุกต์ เพื่อที่จะให้ทั้งเจ้าบ่าว และเจ้าสาว เลือกชุดตามคอนเซปต์ได้อย่างถูกต้อง
  2. เลือกจากรูปแบบของชุด : ด้วยความที่ชุดเจ้าสาวมีหลากหลายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นชุดไทยพระราชนิยม หรือชุดไทยประยุกต์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทางเจ้าสาวจะต้องเลือกชุดไทยให้ได้ก่อนว่า ต้องการใส่ชุดไทยประเภทนั้น จากนั้นค่อยไปเลือกชุดไทยของเจ้าบ่าว อย่างเช่น เจ้าสามเลือกเป็นชุดไทยโบราณ หรือชุดไทยพระราชนิยม เจ้าบ่าวอาจจะมีการเลือกเป็นการนุ่งโจงกระเบน เพื่อที่จะให้ดูแมตช์กับประเภทของชุดเจ้าสาว แต่ถ้าหากเจ้าสาวเลือกการใส่ชุดไทยประยุกต์ เจ้าบ่าวอาจจะมีการเลือกเป็นชุดสูท และใส่โจงกระเบน เพื่อให้เข้ากับชุดเจ้าสาวมากยิ่งขึ้น
  3. เน้นชุดเจ้าสาวเป็นหลัก : เนื่องจากชุดแต่งงานของเจ้าสาว มีให้เลือกหลากหลายประเภทเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นการเลือกด้วยการเน้นจากชุดเจ้าสาวเป็นหลัก จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เลือกชุดเจ้าบ่าวได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยการเลือกชุดเจ้าสาว จะต้องเลือกจากทั้งโทนสีผิว ว่าโทนสีนั้นเหมาะสำหรับการใส่ชุดอะไร หรือสไบสีไหน จากนั้นค่อยนำสีของชุดเจ้าสาว มาหยอดไว้ในสีชุดเจ้าบ่าว เพื่อให้มีความเข้ากับมากยิ่งขึ้น

ชุดไทยแต่งงานผู้ชาย

สำหรับการเลือกชุดเจ้าบ่าว ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าการเลือกชุดเจ้าสาวเลยทีเดียว แต่ด้วยความที่ชุดเจ้าสาวมีรูปแบบที่มากมาย ดังนั้นเลือกชุดไทยเจ้าบ่าว ให้เหมาะกับประเภทชุดของเจ้าสาวจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก อีกทั้งชุดไทยเจ้าบ่าวในปัจจุบันยังมีทั้งชุดไทยแบบดั้งเดิม ชุดไทยประยุกต์ และชุดไทยอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งในส่วนนี้จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธีม และกับสถานการณ์

ชุดไทยแต่งงานผู้ชาย ชุดไทยเจ้าบ่าว ชุดไทยเจ้าสาวในแต่ละภูมิภาค จัดงานแต่งงานแบบไทย เจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องสวมชุดไทยในพิธีแต่งงาน เพื่อสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่สมบูรณ์แบบ ปัจจุบันนิยมชุดไทยเจ้าบ่าวประยุกต์ ท่อนบนใส่สูท ส่วนท่อนล่างนุ่งโจงกระเบนแมทช์กับชุดไทยเจ้าสาวได้ทุกรูปแบบ หรือจะเลือกสวมชุดเจ้าบ่าวที่สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยในแต่ละภูมิภาค ชุดไทยเจ้าบ่าวรวมถึงชุดไทยเจ้าสาวในแต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไร ไปดูกัน 1.ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคเหนือ ชุดแต่งงานภาคเหนือหรือชุดแต่งงานล้านนาได้รับอิทธิพลหรือมาจากสิบสองปันนาและชาวเมียนมาร์ ชุดเจ้าสาวเน้นไปที่การสวมใส่สไบสีสันสะดุดตา อาทิ สีฟ้า สีชมพู สีม่วง สีแดง ลวดลายไม่ปักเป็นเลื่อม แต่เน้นลวดลายที่แฝงอยู่ในผ้าสไบหรือผ้าแถบ จับคู่กับผ้าซิ่น เช่น สิ้นไหมสันกำแพง ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ซิ่นก่านซิ่นต๋า ซิ่นไหมยกดอกลำพูน เป็นต้น สำหรับชุดเจ้าบ่าวนิยมสวมเสื้อม่อฮ่อม ผ้าโพกผม พื้นเมืองล้านนาและผูกผ้าขาวม้าที่เอว 2.ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคใต้ สำหรับชุดแต่งงานภาคใต้หรือเรียกว่า “บาบ๋า” ได้รับวัฒนธรรมมาจากมลายูและจีน เจ้าสาวนิยมสวมเสื้อตัวในเป็นผ้าลูกไม้สีอ่อน แขนยาว คอตั้งแบบจีน นุ่งกับผ้าปาเต๊ะสีเดียวกัน จากนั้นทับด้วยเสื้อครุยผ้าป่ารูเปีย ติดเข็มกลัด 3 ชิ้นหรือโกสัง ที่เสื้อด้านนอก ในขณะที่ชุดเจ้าบ่าวจะใส่สูทสากลติดดอกไม้หรือเข็มกลัด ประดับด้วยพู่สีชมพูที่หน้าอก อย่างไรก็ตาม เจ้าบ่าวเจ้าสาวอาจสวมใส่เป็นชุดไทยมุสลิมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวใต้ 3.ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคอีสาน ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคอีสาน ถ้าเป็นชุดพื้นเมืองจะดูเรียบง่าย เจ้าบ่าวและเจ้าสาวใส่เสื้อทรงกระบอกสีขาวแขนยาวและมีสไบแพรนวลพาดไหล่ ท่อนล่างเจ้าสาวจะนุ่งผ้าซิ่น ส่วนเจ้าบ่าวนุ่งโสร่ง ชุดแต่งงานภาคอีสานได้รับวัฒนธรรมมาจากประเทศลาว หรือเจ้าสาวอาจสวมชุดแต่งงานท่อนบนสีขาวเกาะอก แขนยาวผ้าตาข่ายปักเย็บด้วยลายลูกไม้ ท่อนล่างนุ่งซิ่นดูสวยหรูไปอีกแบบ แมทช์กับชุดเจ้าบ่าวสูทสีเทาสวมทับเสื้อเชิ้ตตัวในสีขาวและผูกเนคไทสีชมพูน้ำหมาก ปังมาก เหมาะกับงานแต่งงานที่จัดขึ้นในโรงแรมแม้จะดูสวยหรูแต่ยังคงได้กลิ่นอายความเป็นอีสาน 4.ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคกลาง ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคกลางเป็นชุดไทยแท้หรือชุดไทยพระราชนิยม เช่น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยบรมพิมานชุดไทยจักรพรรดิ ชุดไทยจักรี เป็นต้น ชุดไทยเจ้าบ่าวอาจสวมเสื้อราชปะแตน สีขาวคอทรงกระบอก แขนเสื้อยาว ท่อนล่างนุ่งโจงกระเบนหรือเลือกเป็นชุดไทยประยุกต์ท่อนบนใส่สูทผูกไท ส่วนท่อนล่างนุ่งโจงกระเบนก็ดูเก๋เท่ไปอีกแบบ ชุดไทยเจ้าบ่าว ชุดไทยเจ้าสาวมีให้เลือกหลายแบบหลายดีไซน์หรือจะสวมใส่เป็นชุดไทยที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมหรือประเพณีความเป็นไทยในแต่ละภูมิภาคได้ สำหรับชุดไทยผู้ชาย หลายคนมองว่ามีดีเทลไม่เยอะ ดังนั้น ไม่ต้องให้ความสำคัญอะไรมากมาย แต่ความเป็นจริงแล้วต้องให้ความสำคัญพอๆ กับชุดไทยเจ้าสาวเลยทีเดียว

ชุดไทยแต่งงานผู้ชาย

ชุดไทยเจ้าบ่าว ชุดไทยเจ้าสาวในแต่ละภูมิภาค

จัดงานแต่งงานแบบไทย เจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องสวมชุดไทยในพิธีแต่งงาน เพื่อสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่สมบูรณ์แบบ ปัจจุบันนิยมชุดไทยเจ้าบ่าวประยุกต์ ท่อนบนใส่สูท ส่วนท่อนล่างนุ่งโจงกระเบนแมทช์กับชุดไทยเจ้าสาวได้ทุกรูปแบบ หรือจะเลือกสวมชุดเจ้าบ่าวที่สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยในแต่ละภูมิภาค ชุดไทยเจ้าบ่าวรวมถึงชุดไทยเจ้าสาวในแต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไร ไปดูกัน 

1.ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคเหนือ 

ชุดแต่งงานภาคเหนือหรือชุดแต่งงานล้านนาได้รับอิทธิพลหรือมาจากสิบสองปันนาและชาวเมียนมาร์ ชุดเจ้าสาวเน้นไปที่การสวมใส่สไบสีสันสะดุดตา อาทิ สีฟ้า สีชมพู สีม่วง สีแดง ลวดลายไม่ปักเป็นเลื่อม แต่เน้นลวดลายที่แฝงอยู่ในผ้าสไบหรือผ้าแถบ จับคู่กับผ้าซิ่น เช่น สิ้นไหมสันกำแพง ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ซิ่นก่านซิ่นต๋า ซิ่นไหมยกดอกลำพูน เป็นต้น สำหรับชุดเจ้าบ่าวนิยมสวมเสื้อม่อฮ่อม ผ้าโพกผม พื้นเมืองล้านนาและผูกผ้าขาวม้าที่เอว

2.ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคใต้ 

สำหรับชุดแต่งงานภาคใต้หรือเรียกว่า “บาบ๋า” ได้รับวัฒนธรรมมาจากมลายูและจีน เจ้าสาวนิยมสวมเสื้อตัวในเป็นผ้าลูกไม้สีอ่อน แขนยาว คอตั้งแบบจีน นุ่งกับผ้าปาเต๊ะสีเดียวกัน จากนั้นทับด้วยเสื้อครุยผ้าป่ารูเปีย ติดเข็มกลัด 3 ชิ้นหรือโกสัง ที่เสื้อด้านนอก ในขณะที่ชุดเจ้าบ่าวจะใส่สูทสากลติดดอกไม้หรือเข็มกลัด ประดับด้วยพู่สีชมพูที่หน้าอก อย่างไรก็ตาม เจ้าบ่าวเจ้าสาวอาจสวมใส่เป็นชุดไทยมุสลิมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวใต้ 

3.ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคอีสาน 

ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคอีสาน ถ้าเป็นชุดพื้นเมืองจะดูเรียบง่าย เจ้าบ่าวและเจ้าสาวใส่เสื้อทรงกระบอกสีขาวแขนยาวและมีสไบแพรนวลพาดไหล่ ท่อนล่างเจ้าสาวจะนุ่งผ้าซิ่น ส่วนเจ้าบ่าวนุ่งโสร่ง ชุดแต่งงานภาคอีสานได้รับวัฒนธรรมมาจากประเทศลาว หรือเจ้าสาวอาจสวมชุดแต่งงานท่อนบนสีขาวเกาะอก แขนยาวผ้าตาข่ายปักเย็บด้วยลายลูกไม้ ท่อนล่างนุ่งซิ่นดูสวยหรูไปอีกแบบ แมทช์กับชุดเจ้าบ่าวสูทสีเทาสวมทับเสื้อเชิ้ตตัวในสีขาวและผูกเนคไทสีชมพูน้ำหมาก ปังมาก เหมาะกับงานแต่งงานที่จัดขึ้นในโรงแรมแม้จะดูสวยหรูแต่ยังคงได้กลิ่นอายความเป็นอีสาน 

4.ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคกลาง 

ชุดเจ้าบ่าวชุดเจ้าสาวภาคกลางเป็นชุดไทยแท้หรือชุดไทยพระราชนิยม เช่น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยบรมพิมานชุดไทยจักรพรรดิ ชุดไทยจักรี เป็นต้น ชุดไทยเจ้าบ่าวอาจสวมเสื้อราชปะแตน สีขาวคอทรงกระบอก แขนเสื้อยาว ท่อนล่างนุ่งโจงกระเบนหรือเลือกเป็นชุดไทยประยุกต์ท่อนบนใส่สูทผูกไท ส่วนท่อนล่างนุ่งโจงกระเบนก็ดูเก๋เท่ไปอีกแบบ

ชุดไทยเจ้าบ่าว ชุดไทยเจ้าสาวมีให้เลือกหลายแบบหลายดีไซน์หรือจะสวมใส่เป็นชุดไทยที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมหรือประเพณีความเป็นไทยในแต่ละภูมิภาคได้ สำหรับชุดไทยผู้ชาย หลายคนมองว่ามีดีเทลไม่เยอะ ดังนั้น ไม่ต้องให้ความสำคัญอะไรมากมาย แต่ความเป็นจริงแล้วต้องให้ความสำคัญพอๆ กับชุดไทยเจ้าสาวเลยทีเดียว

 

Verified by MonsterInsights