5 เรื่องควรทำก่อน การจัดงานแต่งงาน เพื่อทำให้ชีวิตรักยาวนานขึ้น

เมื่อคุณและคนรักตัดสินใจที่จะจูงมือเข้าสู่ประตูวิวาห์ เพื่อใช้ชีวิตร่วมกันอย่างจริงจัง แม้ว่าการตัดสินใจนี้ดูจะเด็ดขาดแล้ว แต่ก่อนที่คุณจะมีการจัดงานแต่งงานอย่างเป็นทางการ คุณควรรู้เรื่องเหล่านี้ก่อน เพื่อทำให้คุณสามารถแต่งงานกันได้อย่างมั่นใจและช่วยทำให้ชีวิตรักของคุณอยู่อย่างมีความสุขไปยาวนานอีกด้วย

เรื่องควรรู้ 5 ข้อการจัดงานแต่งงาน เพื่อรักษารักนี้ให้ยั่งยืน

การจัดงานแต่งงานจะเกิดขึ้นได้เมื่อคนสองคนรักกันและตกลงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างจริงจัง แต่ทั้งนี้ก่อนที่คุณจะเริ่มงานแต่งของตัวเองและคนรัก ควรทำความเข้าใจกับ 5 เรื่องควรรู้ก่อนที่คุณจะตัดสินใจจัดงานวิวาห์อย่างเป็นทางการ เพื่อให้คุณสามารถรักษารักนี้ไว้ได้อย่างยั่งยืนและงานแต่งไม่ล่มไปก่อนวันจริง คือ

1.ตั้งคำถามให้ตัวเอง

เรื่องแรกที่คุณควรทำก่อนการจัดงานแต่งงาน คือ การตั้งคำถามให้กับตัวเองทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ลองถามตัวเองดูว่าพร้อมแล้วหรือยังที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน? แชร์ความคิดเห็นและความรู้สึกร่วมกัน ต่อจากนี้ไปจะไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่ง แต่จะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดูแลซึ่งกันและกัน ถ้าความสัมพันธ์ไปสู่การมีครอบครัวที่ให้กำเนิดบุตรด้วยแล้ว จะยิ่งเริ่มมีสมาชิกภายในครอบครัวเพิ่มขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์นี้ยิ่งยาวนานขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถ้าคุณสามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน ไม่รู้สึกลังเล คุณก็ถือว่าพร้อมที่จะแต่งงานแล้ว แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังมีพฤติกรรมของการติดเพื่อน การไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ หรือการใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระ ให้คุณถอยออกมาแล้วพูดคุยกันให้เข้าใจก่อน เพื่อทำให้รักนี้ของคุณยั่งยืนและไม่ล่มกลางทางง่ายเกินไป

2.ตัดสินใจร่วมกัน

ถ้าคุณตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างจริงจังแล้ว เรื่องต่าง ๆ ต่อจากนี้ไปคุณควรตัดสินใจร่วมกัน แชร์ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รับฟังเหตุผลของแต่ละฝ่ายอยู่เสมอ ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินแต่ใช้เหตุผลที่แท้จริงเท่านั้น โดยเฉพาะเรื่องของ การจัดงานแต่งงานที่จำเป็นจะต้องตัดสินใจร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกธีมแต่งงาน, ชุดแต่งงาน, การแต่งหน้า-ทำผม, งบประมาณในงานแต่ง และเรื่องราวต่าง ๆ ร่วมกันใน เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจและทำให้เห็นถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกันอีกด้วย

3.เคลียร์ชีวิตของแต่ละฝ่าย

ก่อนที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่ร่วมกันอีกหนึ่ง เรื่องที่ควรทำคือการเคลียร์ชีวิตของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจนก่อนการจัดงานแต่งงาน  เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ ในช่วงวันแต่งหรือหลังแต่งงานกันไปแล้ว ไม่ว่าฝ่ายใดจะมีเรื่องของแฟนเก่า, คนรู้จัก, คนสนิท หรือแม้แต่เรื่องราวส่วนตัวอย่างเรื่องทางกฎหมายก็ควรเคลียร์ให้ชัดเจนก่อน เพื่อทำให้การใช้ชีวิตคู่เป็นไปอย่างมีความสุขมากที่สุด

4.เข้าถึงครอบครัวของแต่ละฝ่าย

ก่อนที่คุณจะตกลงปลงใจแต่งงาน เรื่องสำคัญคือคุณควรเข้าถึงครอบครัวของแต่ละฝ่าย ไม่ว่าคุณจะเป็นว่าที่เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว ควรเข้าไปพูดคุยทำความรู้จัก สร้างความใกล้ชิดสนิทสนม และสร้างความสุขให้กับครอบครัวซึ่งกันและกัน เพื่อทำให้การแต่งงานมีความราบรื่นมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องก่อนแต่งที่ควรขออนุญาตผู้ใหญ่ รวมไปถึงฤกษ์ยามต่าง ๆ คุณควรให้ทั้ง 2 ครอบครัวได้ช่วยกัน ได้ร่วมตัดสินใจ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้เกียรติของครอบครัวทั้ง 2 ฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน

5.ทำความเข้าใจกฎหมายชีวิตคู่

อีกหนึ่งเรื่องที่คุณควรทำความเข้าใจก่อนการจัดงานแต่งงาน คือ เรื่องกฎหมายคู่สมรส ไม่ควรคิดว่าด้วยความรักไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องเหล่านี้ก็ได้ เพราะไม่ว่าคุณจะรักกันมากแค่ไหน เมื่อแต่งงานแล้วย่อมมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่มีการจดทะเบียนสมรส จะมีเรื่องของทรัพย์สินที่ทำมาร่วมกันและการมีบุตรที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายทั้งหมด ดังนั้นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับกฎหมายชีวิตคู่ จึงควรศึกษาไว้ทั้งว่าที่เจ้าบ่าวและว่าที่เจ้าสาว เพื่อคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพของคู่ชีวิตโดยเฉพาะ

cr.wordpress.com

5 เรื่องควรรู้ก่อนจดทะเบียนสมรส

สำหรับกฎหมายคู่ชีวิตที่เกิดผลทันทีหลังการจดทะเบียนสมรสจะมี 5 ประการสำคัญที่คุณควรรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ทะเบียนสมรสเป็นโมฆะ คือ

1.ไม่ได้มีสัญชาติไทย

ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้มีสัญชาติไทยหรือไม่ใช่สัญชาติไทยทั้งคู่ แล้วเข้ามาจัดงานแต่งในประเทศไทยก็จะไม่สามารถจดทะเบียนสมรสภายในไทยได้

2.คู่ชีวิตต้องตัดสินใจได้

คู่ชีวิตต้องเป็นบุคคลปกติ ไม่ไร้ความสามารถด้านการตัดสินใจและจะต้องไม่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมวิกลจริต ซึ่งข้อกฎหมายนี้จะช่วยเหลือในเรื่องของการถูกจับแต่งงานอย่างไร้ซึ่งความยินยอม

3.ไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน

การจดทะเบียนสมรสได้นั้น คู่ชีวิตที่แต่งงานด้วยจะต้องไม่ใช่ญาติสนิท ไม่ใช่คนในสายโลหิตเดียวกัน ไม่ใช่คนในวงศ์ตระกูลเดียวกันเด็ดขาด

4.ต้องไม่จดทะเบียนซ้อน

การใช้ชีวิตร่วมกันจนสามารถจดทะเบียนสมรสได้ จะต้องเป็นบุคคลโสด ไม่มีคู่สมรสอยู่ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการจดทะเบียนซ้อนที่ถือว่าผิดกฎหมายทันที

5.ได้รับการยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย

การเป็นคู่ชีวิตที่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ จะต้องมีการยินยอมและการจดทะเบียนที่ถูกต้องของทั้งสองฝ่าย จะไม่เป็นไปโดยผลประโยชน์ของเพียงแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ถ้ามีการบังคับจะไม่ถือว่าเป็นการจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้อง

กฎหมายคู่ชีวิตหลังการจัดงานแต่งงานจะเริ่มต้นได้ต่อเมื่อคู่แต่งงานนั้น ๆ จะต้องมีอายุถึงเกณฑ์และเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น  ที่สำคัญคือจะต้องไม่เป็นไปโดยผลประโยชน์ทางด้านการขอสัญชาติ เพื่อเข้ามาปักหลักทำธุรกิจภายในประเทศไทย หรือการเข้ามามีสิทธิพลละเมืองของไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม รวมไปถึงกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อห้ามในกฎหมายคู่ชีวิต คือ การแต่งงานที่อายุต้องไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ การแต่งงานที่ต้องไม่ถูกข่มขู่ ซึ่งถ้าผิดเพียงแค่ข้อใดข้อหนึ่ง ทะเบียนสมรสจะถูกทำให้เป็นโมฆะทันที

Verified by MonsterInsights