9 ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรและไม่ควรทำในพิธีแต่งงาน

การแต่งงาน คือการเริ่มต้นใช้ชีวิตร่วมกันแบบครอบครัวทำให้ในพิธีแต่งงานไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนชาติใดส่วนใหญ่จะมีพิธีกรรมที่เป็นความเชื่อว่าเป็นมงคลสำหรับคู่แต่งงาน การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นก็เพื่อให้กำลังใจคู่บ่าวสาวว่าการเริ่มต้นชีวิตคู่ต่อไปนี้จะมีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต ธรรมเนียมไทยก็เช่นเดียวกันที่มีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรและไม่ควรทำในพิธีแต่งงาน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ

Deal โปรฟ้าผ่า 5 วันเท่านั้น

9 ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรและไม่ควรทำในพิธีแต่งงาน

ความเชื่อในพิธีแต่งงานของคนไทย ล้วนแล้วแต่เป็นความเชื่อเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับคู่บ่าวสาวทั้งสิ้น และความเชื่อในพิธีแต่งงานยังมีทั้งสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ดังนี้

 

 

1. ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามการจัดพิธีแต่งงาน
สิ่งที่ควรทำและเป็นความเชื่อที่มีความสำคัญลำดับแรก ๆ ของการจัดงานแต่งงาน ก็คือ    ความเชื่อ
เรื่องฤกษ์ยาม แม้ปัจจุบันจะนิยมจัดตามฤกษ์สะดวกของคู่บ่าวสาวเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานและมีงานประจำ การถือฤกษ์สะดวกของคู่บ่าวสาวช่วยให้การจัดเตรียมงาน รวมทั้งแขกที่เป็นผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานโดยเฉพาะการทำงานที่อยู่ไกลบ้านได้เดินทางมาร่วมงานได้ เช่น การเลือกจัดงานให้ตรงกับวันเสาร์อาทิตย์หรือช่วงวันหยุดแต่ก็ยังยึดถือความเชื่อเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับคู่บ่าวสาว นั้นคือนิยมจัดงานแต่งในเดือนคู่ ได้แก่ เดือน 2 เดือน 4 เดือน 6 หรือเดือน 9 เพราะเก้าพ้องเสียงกับคำว่า ก้าว ที่หมายถึงการก้าวไปข้างหน้า ซึ่งมีความหมายที่เป็นสิริมงคลต่อการใช้ชีวิตคู่

 

 

2.ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามที่ไม่ควรจัดพิธีแต่งงาน

เรื่องฤกษ์ยามที่ไม่ควรจัดพิธีแต่งงาน ในอดีตมีหลายความเชื่อ เช่น ไม่จัดงานแต่งงานวันเสาร์ เพราะเป็นวันแรงหากจัดงานมงคลเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตพบแต่อุปสรรค ครอบครัวไม่มีความสุข หรือห้ามจัดงานแต่งงานวันพุธ เพราะทางโหราศาสตร์ดาวพุธมีวงโคจรที่ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โบราณเชื่อว่าการแต่งงานวันพุธอาจทำการใช้ชีวิตคู่มีการหย่าร้างเกิดขึ้นได้ รวมทั้งห้ามแต่งงานวันพฤหัสบดีที่ถือเป็นวันครู มีความเชื่อว่าหากแต่งงานวันพฤหัสบดีฝ่ายชายจะแพ้ทางฝ่ายหญิง แต่ปัจจุบันฤกษ์ยามที่ไม่ควรจัดพิธีแต่งงานที่ยังคงถือกันอย่างเคร่งครัดก็คือไม่จัดงานพิธีแต่งงานวันพระ และบางความเชื่อจะหลีกเลี่ยงการจัดงานแต่งงานในช่วงเดือนเขาพรรษาอีกด้วย

3.ความเชื่อเรื่องฤกษ์มงคล

นอกจากความเชื่อในเรื่องของฤกษ์ยามการจัดแต่งงานแล้ว ลำดับขั้นตอนพิธีแต่งงานก็ยังถือเรื่องฤกษ์มงคลต่าง ๆ เริ่มจากฤกษ์มงคลในการแห่ขบวนขันหมากมายังบ้านเจ้าสาว ฤกษ์สวมแหวนหมั้นแหวนแต่งงาน ฤกษ์รดน้ำสังข์หรือฤกษ์ส่งตัวเข้าเรือนหอ

 

4.ความเชื่อเรื่องจำนวนพระสงฆ์

งานแต่งงานโดยทั่วไปจะมีพิธีสงฆ์ในช่วงเช้า เพื่อให้บ่าวสาวได้ตักบาตรร่วมขันเพื่อความเป็นสิริ

มงคลในการเริ่มต้นชีวิตครอบครัว จำนวนพระสงฆ์นิยมนิมนต์จำนวน 9 รูป เพราะเชื่อว่าเลข 9 เป็นตัวเลขมงคล หมายถึงความเจริญก้าวหน้า ยกเว้นบริเวณสถานที่คับแคบหรือสถานที่จัดงานไม่อำนวยอาจนิมนต์ พระสงฆ์ทำพิธีเพียง 5 รูปก็ได้เช่นกัน

 

5.ความเชื่อเรื่องตัวเลขมงคล

ในพิธีแต่งงานจะมีความเชื่อเรื่องของฤกษ์ยามและฤกษ์มงคลอยู่ในทุกขั้นตอน ตัวเลขมงคลสำหรับ

ฤกษ์ยามต่าง ๆ ที่ได้มาจากซินแส พระ ตำราโหราศาสตร์ หรือหมอดูดวงชะตาต่าง ๆ แล้ว หากเป็นฤกษ์สะดวกที่คู่บ่าวสาวหรือเจ้าภาพกำหนดขึ้นเองนิยมใช้เลข 9 เป็นตัวเลขมงคล เช่น ฤกษ์ยามอาจกำหนดเวลาช่วง  9 โมง 9 นาที หรือใช้เลข 9 ต่อท้าย เช่น 8 โมง 9 นาที รวมทั้งจำนวนสินสอดก็อาจเลือกเลข 9 ต่อท้ายจำนวนเงิน เช่น ต่อท้ายจำนวนเต็มด้วย 999 บาท 99 บาท หรือ 9 บาท

6.ความเชื่อเรื่องขนมขันหมากและจำนวนขนมขันหมาก

 

 

ขบวนขันหมาก นอกจากประกอบด้วยสินสอดทองหมั้นแล้ว เครื่องขันหมากยังประกอบไปด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย มะพร้าว กล้วย หัวหมู และขนมต่าง ๆ โดยเครื่องขันหมากจะจัดเป็นคู่ ๆ ส่วนขนมขันหมากนอกจากจัดเป็นคู่แล้ว จำนวนขนมขันหมากทั้งหมดที่จัดมาฝ่ายเจ้าสาวอาจกำหนดให้ฝ่ายเจ้าบ่าวจัดเตรียมมาตามความเชื่อ เช่น 9 คู่ 12  คู่ หรือ 24 คู่

 

7.ความเชื่อเรื่องอาหารและขนมมงคลที่ต้องมีในพิธีแต่งงาน

อาหารและขนมหวานตามความเชื่อที่ต้องจัดถวายพระหรือนำมาเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน ได้แก่

อาหารและขนมที่มีชื่อเป็นมงคล เช่น  ห่อหมก สื่อความหมายให้คู่บ่าวสาว เออออห่อหมกไปกันได้ด้วยดีในทุกเรื่อง ลาบ ขนมจีบ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมถ้วยฟู ข้าวต้มมัด เป็นต้น

 

8.ความเชื่อเรื่องสีของเสื้อผ้าและของตกแต่งที่ไม่ควรเลือกใช้

 

พิธีแต่งงานถือเป็นงานมงคล การสวมใส่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายควรเป็นสีสดใส สีเสื้อผ้าและของตกแต่งแต่งต้องห้ามในงานมงคล เช่นสีดำ หรือสีทึบๆ เช่น น้ำตาลเข้ม เทาดำ หรือสีม่วง เพราะตามความเชื่อสีม่วงเป็นสีของแม่ม่ายหรือสีของคนอกหัก

9.ความเชื่อเรื่องห้ามทำสิ่งของแตกหักในพิธีแต่งงาน

 

ความเชื่อที่และเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมากในพิธีแต่งงาน ก็คือ ห้ามทำแก้ว ถ้วย จาน ชามหรือสิ่งของแตกหัก หากเป็นอุบัติเหตุที่ต้องทำให้สิ่งของเหล่านั้นแตกหักก็จะรีบเก็บทำความสะอาดอย่างเงียบ ๆ

สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรและไม่ควรทำในพิธีแต่งงาน นอกจาก 9 ข้อนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องของความเชื่ออีกมากมายที่ควรทำและไม่ควรทำ แม้จะเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณและบางความเชื่อก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย อีกทั้งยังถือความสะดวกของคู่บ่าวสาวและของทุกคนเป็นสำคัญ แต่เรื่องของความเชื่อต่าง ๆ ล้วนมีความหมายดี ๆ ที่เป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาวแฝงอยู่ทั้งสิ้น

Verified by MonsterInsights