แต่งงานชุดไทยจิตรลดาแขนสั้น การแต่งงานแบบไทย ถือว่าเป็นพิธีการแต่งงานตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่เป็นมงคล แฝงด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างตามแต่ละท้องถิ่น ซึ่งการแต่งงานที่จัดลำดับพิธีการขั้นตอนต่าง ๆ นั้น จึงมีความละเอียดและสำคัญมาก และเป็นประเพณีที่งดงามอย่างเหมาะสม แสดงถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมด้านจิตใจ และวัฒนธรรมด้านวัตถุของบรรพบุรุษของไทยที่มองการณ์ไกล และมีความละเอียดอ่อนในแต่ละพิธีการ เนื่องจากโดยธรรมชาติของสิ่งที่มีชีวิตนั้น ย่อมมีความต้องการทางเพศสัมพันธ์และต้องการสืบสกุล แต่การจัดพิธีแต่งงานถือว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างมนุษย์กับสัตว์ หนึ่งในพิธีการแต่งงานแบบไทย คือ ชุดไทย ที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวนิยมสวมใส่ในงานหมั้นและงานฉลองมงคลในพิธีเช้า เพราะถือเป็นการทำพิธีการที่เสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตสมรส ซึ่งการสวมใส่ชุดไทยเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของคนไทย ซึ่งนอกเหนือจากรูปแบบของชุดไทยที่มีหลากหลายแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาของคนไทยตั้งแต่รุ่นอดีตสืบทอดมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน “สตรีไทยควรมีเครื่องแต่งกายที่เป็นชุดไทย โดยเฉพาะเหมือนชุดประจำชาติ” เป็นพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ของไทย และตามหลักวิชาการร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ไทย เพื่อทรงค้นคว้าเรื่องเครื่องแต่งกายชุดไทยสมัยต่าง ๆ และให้ช่างที่มีฝีมือออกแบบตัดเย็บให้ชุดไทยเป็นชุดประจำชาติที่สละสลวย สวยงาม เหมาะกับบุคลิกภาพของคนไทย ซึ่งเรียกชุดไทยนี้ว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยจิตรลดาถือเป็นหนึ่งในชุดไทยพระราชนิยม ซึ่งตั้งตามชื่อ “พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน” เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของสุภาพสตรี ซึ่งนิยมสวมใส่ในงานพิธีหรืองานพระราชพิธีต่าง ๆ ในช่วงเวลากลางวัน อาทิเช่น งานพิธีหมั้น งานมงคลสมรส ลักษณะเป็นทางการกว่าชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดามีลักษณะเด่นของชุดไทยจิตรลดาจะเป็นชุดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีหลายรูปแบบ ทั้งลักษณะการตัดเย็บ และชนิดของผ้า เช่น […]