เจ้าบ่าวหนีงานแต่ง! อาจผิดกฎหมาย แต่จะผิดแค่ไหน? ผิดอย่างไร? ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน
หนึ่งในเรื่องที่ใครหลาย ๆ คนไม่อยากให้เกิดขึ้น ภายในงานแต่ง คือ ปัญหาการทะเลาะหรือปัญหาภายในที่แก้ไขไม่ได้ จนกลายเป็นเจ้าบ่าวหนีงานแต่ง ซึ่งทางกฎหมายแล้วถ้าเกิดเป็นการสู่ขอและต้องมีการจัดงานแต่งขึ้นมา เจ้าบ่าวเกิดหนีในวันงาน อาจพาให้ผิดกฎหมายได้! แต่จะผิดในรูปแบบไหน? ต้องทำอย่างไรถึงจะผิด? ขอแนะนำให้คุณทำความเข้าใจอย่างชัดเจนภายในบทความนี้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเจ้าบ่าวหนีงานแต่ง ผิดหรือไม่? มาดูรายละเอียดที่นี่
ปัญหาเจ้าบ่าวหนีงานแต่ง คงไม่มีเจ้าสาวคนไหน อยากให้เกิดขึ้น ภายในงานตัวเอง แต่ถ้าไม่สามารถห้ามให้เกิดได้ แล้วกลายมาเป็นการทำให้เกิดความเสียหาย กับทางฝั่งเจ้าสาวโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพจิตใจ การต้องอับอายผู้ที่มาร่วมงาน หรือความเสียหายด้านค่าจัดงาน ทางเจ้าบ่าวอาจจะผิดกฎหมาย ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ฝั่งของเจ้าบ่าว ควรรู้ไว้ก่อนจะจัดงานแต่ง และควรชั่งใจให้ดีว่าคุณพร้อมแล้วหรือยัง? ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีแบบไม่รู้ตัว โดยข้อกฎหมายเกี่ยวกับเจ้าบ่าวหนีงานแต่ง และถือว่าเป็นการผิดสัญญา จะมีดังนี้
- เมื่อใดที่ทางฝ่ายเจ้าบ่าวมีการหมั้นหมาย ด้วยการส่งผู้ใหญ่สู่ขอ และมีการตบปากรับคำ ที่จะมอบทรัพย์สินเป็นสินสอด ซึ่งถือเป็นการสัญญาว่าทั้งสองฝ่ายจะสมรสกัน จะถือว่าเจ้าบ่าวที่ทิ้งงานหมั้นและงานแต่ง ซึ่งจะผิดกฎหมายทันที
- ก่อนเกิดงานสมรสและการจดทะเบียนตามกฎหมาย ถ้าฝั่งเจ้าบ่าวมีการสร้างเรือนหอร่วมกับเจ้าสาว หรือมีการ สร้างทรัพย์สินใด ๆ ร่วมกับทางเจ้าสาว ซึ่งทำให้เห็นถึงการลงหลักปักฐาน ที่จะต้องมีงานแต่งและการจดทะเบียนสมรสในอนาคตเกิดขึ้น ถ้าเจ้าบ่าวทิ้งงาน จะกลายเป็นการผิดสัญญาหมั้นทันที ฝ่ายเจ้าสาวจึงดำเนินคดีและเรียกค่าเสียหายได้
- ถ้ามีการตกลงและทำสัญญา ที่จะเกิดเป็นงานมงคลสมรสด้วยการหมั้นตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ทางฝั่งเจ้าสาวจะสามารถฟ้องเจ้าบ่าวเป็นคดีแพ่ง เพื่อการเรียกชดใช้ค่าเสียหายได้
- การเรียกค่าเสียหายของทางฝั่งเจ้าสาว จะเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 เนื่องจากฝั่งเจ้าบ่าวเกิดผิดสัญญา หรือข้อตกลงใด ๆ ที่เกี่ยวกับการสมรส โดยเป็นการบัญญัติแบบพิเศษที่จะถูกใช้เฉพาะกรณีของการมีพิธีหมั้น หรือการทำใด ๆ ที่เป็นรูปแบบของการหมั้นไว้ก่อน
ความเสียหายจากการหมั้น ลักษณะใดที่ฝั่งผู้หญิงฟ้องเป็นคดีแพ่งได้
ถ้าคุณเป็นฝั่งหญิงที่ต้องได้รับความเสียหาย จากการหนีงานแต่งของทางฝ่ายชาย คุณจะสามารถฟ้องเป็นคดีแพ่งได้ แต่ความเสียหายจากการหมั้น จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ถ้าเกิดเป็นการหมั้นหมายและผิดสัญญา จนทำให้ชื่อเสียงของทางฝ่ายหญิงเกิดความเสื่อมเสีย หรือมีความเสียหายทางด้านจิตใจ จะสามารถฟ้องเป็นค่าเสียหายต่อกายได้
- ถ้าฝั่งของเจ้าสาว หรือญาติเจ้าสาว รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมงานทั้งหมด เกิดความเสียหายจากการทิ้งงานแต่งของเจ้าบ่าว สามารถเรียกค่าเสียหายและเจ้าบ่าวจะกลายเป็นลูกหนี้ ที่ต้องชดใช้หนี้สินในการจัดเตรียมงานสมรสทั้งหมดเพียงผู้เดียว
- ถ้ามีการจัดงานหมั้น หรือมีการมอบทรัพย์สิน เพื่อการหมั้นหมายต่าง ๆ อย่างชัดเจน แต่ฝ่ายชายกลับคบซ้อนและถูกจับได้ ฝ่ายหญิงจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ทันที
- ถ้ามีการจัดเตรียมทรัพย์สิน เพื่อการนำมาหมั้นหมาย และมีผู้คนทั่วไปรู้ว่าฝ่ายผู้ชาย กำลังจะมาหมั้นกับฝ่ายหญิง ด้วยทรัพย์สินต่าง ๆ จึงกลายเป็นการคาดหมายว่าจะต้องมีการสมรสในอนาคต แต่ทางฝ่ายชายกลับผิดสัญญา ไม่มาแต่งงาน จะสามารถฟ้องและเรียกค่าเสียหายได้เช่นกัน
การหนีงานแต่งของทางฝั่งเจ้าบ่าว จะกลายเป็นการผิดกฎหมาย และฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งได้ ต่อเมื่อเข้าลักษณะของการจัดงานหมั้น หรือมีการมอบทรัพย์สินใด ๆ เพื่อเป็นสัญญาในการจัดงานแต่ง จนทำให้ทางฝ่ายเจ้าสาวเกิดความเสียหายทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน จะฟ้องในด้านการเรียกค่าเสียหายได้ทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อใดที่ไม่ได้มีการหมั้นหมายใด ๆ เกิดขึ้น ไม่มีการตกลงหรือสัญญาก่อน ทางฝั่งผู้หญิงจะไม่สามารถเรียกค่าเสียหายได้ และเอาผิดใด ๆ กับกับฝ่ายชายไม่ได้อีกด้วย
สำหรับการเรียกร้องค่าเสียหายในเรื่องการหนีงานแต่ง ไม่ใช่แค่เพียงทางฝ่ายชายเท่านั้น เพราะเจ้าสาวที่ทิ้งงานแต่งในลักษณะเดียวกัน โดยที่ทางฝ่ายชายได้เสียค่าหมั้นหมายไปแล้ว จะถูกฟ้องคดีแพ่งได้ด้วยเช่นกัน