ขันหมากจีน ขันหมากไทย ความแตกต่างและความเหมือน ลำดับขั้นตอน และการเตรียมการ

 ความแตกต่างและความเหมือน ลำดับขั้นตอน และการเตรียมการ

การจัดงานแต่งงานตามประเพณีไทยในปัจจุบัน บางครั้งเราจะเห็นว่ามีการประยุกต์และผสมผสานพิธีแต่งงานแบบไทยและแบบจีนเข้าไว้ด้วยกัน  แต่อาจมีขั้นตอนและรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง สำหรับคู่บ่าวสาวที่กำลังวางแผนแต่งงานแบบจีนผสมไทย อาจมีข้อสงสัยหรือไม่มั่นใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดขันหมากจีนและขันหมากไทยว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อคลายความสงสัย Deeplovewedding.com มีคำตอบพร้อมมีลำดับขั้นตอนและการเตรียมการ มาแนะนำ

ขันหมากจีน ขันหมากไทย เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

งานแต่งงาน ทั้งพิธีแต่งงานแบบไทยและแบบจีน มีขั้นตอนสำคัญเหมือนกันได้แก่ การจัดเตรียมขันหมากและการแห่ขันหมาก ซึ่งการจัดเตรียมทั้งสองประเพณีจะมีขั้นตอนเหมือนหรือคล้ายกันในการกำหนดจำนวนสิ่งของมงคลที่จะต้องมีหรือจะต้องใช้ในขบวนขันหมาก เช่น

  • การจัดขันหมากไทย

 

สำหรับพิธีแต่งานแบบไทยในแต่ละท้องถิ่น พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายเจ้าสาวอาจกำหนด

ของหมั้นเป็นคู่ ให้ฝ่ายเจ้าบ่าวจัดหามา เช่น หมากพลู และขนมมงคลต่าง ๆ เช่น หมากพลู 4 หรือ 8 คู่ ขนมมงคล 8 คู่ ก็จะต้องจัดหาทั้งหมดรวม 16 ชุด หรืออาจจัดหามาตามที่เห็นสมควรแต่กำหนดให้ต้องมีสิ่งนั้นสิ่งนี้ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่การจัดขันหมากไทยมีรายละเอียดซึ่งคู่บ่าวสาวสามารถเลือกหรือปรับประยุกต์ได้ตามความเหมาะสม แต่จำนวนคู่ต้องเท่าเดิม  ดังนี้

  1. พานขันหมากเอก
  2. พานสินสอด
  3. พานแหวนหมั้นหรือพานของหมั้น
  4. พานธูปเทียนแพดอก
  5. พานเชิญขันหมาก
  6. ต้นกล้วย 1 คู่
  7. ต้นอ้อย 1 คู่
  8. พานมะพร้าวอ่อน 1 คู่
  9. พานกล้วย 1 คู่
  10. พานส้มโอ 1 คู่
  11. พานขนมเปี๊ยะ 1 คู่
  12. พานขนมโก่ 1 คู่
  13. พานขนมกง 1 คู่
  14. น้ำตาลทราย 1 คู่
  15. ข้าวเหนียวแดง 2 ถาด
  16. ขนมจันอับ เช่น งาตัด ถั่วตัด ฟักเชื่อม ข้าวพอง ลูกกวาดอย่างละ 1 คู่ (เลือกทั้งหมดหรือใช้บางอย่างได้)
  17. พานขนมมงคล 9 อย่าง 1 คู่
  18. พานขนมจีน 1 คู่
  19. พานผ้าขาว 2 พาน
  20. พานวุ้นเส้น 1 คู่
  21. เหล้าขาว 1 คู่
  22. ไก่นึ่ง 1 คู่
  23. หมูนอนตอง 1 คู่
  • การจัดเตรียมขันหมากจีน

การจัดเตรียมขันหมากแบบจีน สิ่งที่แตกต่างจากการจัดเตรียมขันหมากไทย ก็คือ ไม่มีต้นอ้อย ต้น

กล้วย ซึ่งในพิธีแต่งงานแบบไทยถือเป็นสิ่งของจำเป็นที่จะขาดไม่ได้ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ในการจัดขันหมากจีน ซึ่งบ่าวสาวสามารถเลือกหรือปรับลดได้ตามความเหมาะสมแต่จำนวนของแต่ละสิ่งต้องเท่าเดิม ดังนี้

  1. พานสินสอด 2 พาน
  2. ผ้ารับสินสอด 1 ผืน
  3. สี่เส็กทึ้ง 2 พาน
  4. ต้นฉุงเชา 1 คู่
  5. กล้วยหอม 1 เครือ (ติดซังฮี่)]
  6. พานส้มเช้ง 4 พาน (ติดซังฮี่)
  7. พานขนมเปี๊ยะ 4 พาน
  8. พานขนมจันอับ 4 พาน
  9. เอี๊ยม และ ปิ่นทองปักผม 1 ชุด
  10. พัด 1 อัน
  11. ตะเกียง 1 อัน
  12. เซฟ 1 อัน
  13. ชุดแม่ศรีเรือน 1 ชุด
  14. ชุดน้ำชา 1 ชุด
  15. ถังแดง 1 ใบ
  16. กระป๋องแดง 1 ใบ
  17. กะละมังแดง 1 ใบ
  18. กระโถนแดง 1 ใบ
  19. เกี๊ยะแดง 1 คู่
  20. เชิงเทียน และเทียน 1 คู่
  21. ซองแดง 4  ซอง

ขั้นตอน และการเตรียมการแบบไทย

  1. ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดเตรียมขันหมาก เมื่อได้เวลาตามฤกษ์จะเริ่มแห่บวนขันหมากไปที่บ้านเจ้าสาว
  2. สวมแหวนหมั้นและพิธีรับไหว้ เมื่อขบวนขันหมากไปถึงบ้านเจ้าสาวขั้นตอนสำคัญได้แก่พิธีรับไหว้จากญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย
  3. พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว
  4. พิธีผูกข้อมือและพิธีรดน้ำสังข์
  5. การกินเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรส
  6. การส่งตัวเจ้าสาว

ขั้นตอน และการเตรียมการแบบไทย

  1. พิธีแห่ขันหมาก และสวมแหวนหมั้น ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดเตรียมขันหมากแห่ไปบ้านเจ้าสาวเช่นเดียวกับพิธีแบบไทย ในขั้นตอนนี้ก็จะรวมถึงพิธีสวมแหวนหมั้นด้วย
  2. พิธีกินขนมอี้ (บัวลอย)
  3. พิธียกน้ำชา และรับไหว้
  4. การกินเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรส
  5. พิธีส่งตัว

สำหรับพิธีแต่งงานแบบไทยที่อาจประยุกต์รูปแบบพิธีไทยกับการแต่งงานแบบจีนเข้าไว้ด้วยกัน

รวมถึงการจัดขันหมากจีนและการจัดขันหมากแบบไทย ใครที่ยังสงสัยหรือคู่บ่าวสาวที่กำลังเตรียมตัวแต่งงาน และต้องผสมผสานทั่งแบบไทยและแบบจีนไว้ด้วยกัน บทความนี้คงเป็นคำตอบได้ดีว่า ขันหมากจีนขันหมากไทยเหมือนหรือแตกต่างและมีลำดับขั้นตอนการเตรียมการอย่างไร

 

ถ่ายพรีวินเทจ